วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Week 12 :Customer Relationship management & Knowledge Management

Week 12 :Customer Relationship management & Knowledge Management
การบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า
CRM คือ การสร้างความสัมพันธ์เพื่อรักษาลูกค้าที่มีอยู่แล้วโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย เช่น เก็บข้อมูลลูกค้า ดูข้อมูลลูกค้า เพื่อจูงใจให้ลุกค้าอยู่กับเรา
เป้าหมาย
ไม่ได้เน้นเพียงแค่การบริการลูกค้าเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเก็บข้อมูลพฤติกรรมในการใช้จ่ายและความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นมาวิเคราะห์และใช้ให้เกิดประโยชน์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือการบริการรวมไปถึงนโยบายในด้านการจัดการ ซึ่งเป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา CRM ก็คือ การเปลี่ยนจากผู้บริโภคไปสู่การเป็นลูกค้าตลอดไป เช่น Amazon มีการเก็บข้อมูลว่าลูกค้าซื้อสินค้าประเภทไหนบ่อยแล้วมีการนำมาแนะนำสินค้าลุกค้าโดยใช้ Data Warehouse Data mining เป็นต้น
ประโยชน์ของ CRM
1. มีรายละเอียดข้อมูลของลูกค้าในด้านต่างๆ ได้แก่ Customer Profile Customer  Behavior
2. วางแผนทางด้านการตลาดและการขายอย่างเหมาะสม
3. ใช้กลยุทธ์ในการตลาด และการขายได้อย่างรวดเร็วอย่างมีประสิทธิภาพตรงความต้องการของลูกค้า(บางทีลุกค้าก็ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการอะไร เราต้องเข้าไปแนะนำให้เขาได้)
4. เพิ่มและรักษาส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจ
5. ลดการทำงานที่ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงาน เพิ่มโอกาสในการแข่งขันก่อให้เกิดภาพพจน์ที่ดีต่อองค์การ  
ซอฟต์แวร์บริหารลูกค้าสัมพันธ์
1.               ระบบการขายอัตโนมัติ (Sale Force automation: SFA) ประกอบด้วย
- ระบบขายโดยผ่านโทรศัพท์ตอบรับ เพื่อให้บริการแบบ Proactive ในลักษณะ Telesale
- ระบบพาณิชย์อิเลกทรอนิกส์ (E-Commerce) เพื่อทำการขายแบบUp-Saleing หรือ Cross-Saleing(เพราะลูกค้ากับบริษัทไม่เห็นหน้ากัน)
- ระบบงานสนามด้านการขาย ได้แก่ Wireless Application สำหรับการขายปลีกและตัวแทนจำหน่ายสามารถเรียกดูข้อมูลลูกค้าได้ทันทีขณะติดต่อ จะเพิ่มโอกาสในการขายให้สูงขึ้น
2.               ระบบบริการลูกค้า (Customer Service: Call Center) ประกอบด้วย ระบบการให้บริการในด้านโทรศัพท์ตอบรับ (Interactive Voice Response: IVR เช่น สวัสดีค่ะ กดหนึ่ง ปัญหาสินค้า แต่ถ้าดีสุดต้องรับคำสั่งที่คนพูดได้เลย) ด้านเว็บไซต์ ด้านสนามและข่าวสารต่าง ๆ
3.               ระบบการตลาดอัตโนมัติ (Marketing) ประกอบด้วย ระบบย่อยด้านการจัดการด้านรณรงค์ต่าง ๆ ด้านการแข่งขัน ด้านเครื่องมือที่จะช่วยการวิเคราะห์ข้อมูล และวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ สนับสนุนการรณรงค์การทำตลาดโดยตรง
     การขายในระดับเดียวกัน (Cross selling) – ลูกค้าบัตร credit ได้สิทธิพิเศษมากยิ่งขึ้น
     การขายแบบชุด (Bundling) – การขายรวมสินค้าหลายๆอย่าง
Data Warehouse และเครื่องมือจัดการข้อมูล เป็นระบบสำคัญในการจัดการข้อมูลที่ละเอียดของ CRM ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลจากภายในและภายนอกองค์กร ข้อมูลภายในมีที่มาจาก 2 แหล่ง คือ
1) มาจากระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นงาน Routine ที่มาจากระบบ Billing ลูกหนี้ ทะเบียนลูกค้า Call Center และข้อมูลเก่าดั้งเดิมที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบฐานข้อมูล
2) ข้อมูลภายนอกได้แก่ Web Telephone Directory เป็นต้น เช่น จาก บริษัทบัตรเครดิต

ชนิดของ CRM
Customer –facing
Customer-touching-
Customer-centric intelligent –วิเคราะห์ผลและกระบวนการเพื่อพัฒนาCRM เช่น ของ SAP
Online networking –  เช่น Facebook youtube ข้อดีคืมีคนใช้เยอะและบางทีฟรี   Proud sourcing คือ การให้ลูกค้ามาdesignสินค้า
Levels & Types of e-CRM
      Foundational service – ขั้นต่ำสุดคือต้องมี Website ในปัจจุบันWebsiteไม่ใช่แค่ให้ข้อมูลอย่างเดียวอาจจะมี chat หรืออย่างอื่นด้วย อย่างต่ำสุดต้องมีe-mail contract.
      Customer-centered services – ขั้นสูงขึ้นมาจะมี order tracking เช่น UPS , product configuration/customization & security/trust.  Services that matter the most to customers.
      Value-added services – extra such as online auctions, online training & education.
       Loyalty programs – ให้ลูกค้าเป้นMembership  แล้วได้ส่วนลด หรือ lotus top มีบัตรสมาชิก ใช้มากๆได้ส่วนลด
เครื่องมือทางITที่เกี่ยวกับCRM
      Personalized web pages used to record purchases & preferences.
      FAQs commonly used for dealing with repetitive customer questions. –ถ้าลุกค้าต้องการที่จะรู้คำตอบอะไร ลูกค้าเข้าไปดูในFAQ sessionได้ ปัจจุบันไม่ได้มีแค่text อาจจะเป็น video
      Email & automated response -การที่มีการตอบมาเลยทำให้อย่างน้อยลูกค้ารู้สึกดี
      Chat rooms
      Live chat
      Call centers
3อันหลัง ข้อดีคือ เป็น Interactive activity แต่ข้อเสียคือเป้นช่องทางให้ลูกค้าด่า
Knowledge Management System  (KMS)
การจัดการความรู้ คือ การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน ตัวบุคคล เอกสาร สื่อ มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ เกิดการพัฒนาตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สร้างความสำเร็จให้แก่องค์กร ตลอดจนสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นในองค์กร
ความรู้ คือ ข้อมูล(Data)ที่ผ่านการประมวลผลจนเป็นสารสนเทศ(Information)แล้วถ้าสามารถนำไปใช้ได้ก็จะเป็นความรู้(Knowledge) ความรู้จะถูกนำเข้าไปเก็บในฐานข้อมูลพวก Web board หรือ E-learning
ประโยชน์ของการบริหารความรู้
      เข้าถึงแหล่งความรู้ในองค์กรได้ง่าย พนักงานที่มีประสบการณ์ทำงานน้อยสามารถเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วจากองค์ความรู้ที่มีอยู่ และสามารถต่อยอดความรู้ได้
      ลดจำนวนการทำผิดซ้ำ -อะไรที่เคยผิดพลายไปแล้วไม่ให้เกิดขึ้นอีก
      ความรู้ไม่สูญหายจากองค์กร – เพราะความรู้อยู่ในตัวคน จึงต้องการให้มีการเก็บความรุ้เข้าไว้ในระบบขององค์กรคนรุ่นหลังจะได้เอาไว้ใช้ได้
      ยกระดับความสามารถขององค์กรให้เหนือคู่แข่ง
การสร้างKM
      สร้าง knowledge Base ขององกรค์เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว (learn faster) ต่อยอดความรู้ที่มีอยู่มุ่งสู่การสร้างนวัตกรรมและองกรค์ความรู้ใหม่ในการปฏิบัติงานเพิ่ม value ให้ธุรกิจ
      สร้าง knowledge network สำหรับพนักงานทุกคน สามารถ Access and Share ความรู้ได้อย่างทั่วถึง เช่น Social Media เป็นต้น
เป้าหมายของการจัดการความรู้
·        คน คิดเป็นทำเป็น
·        การทำงาน มีประสิทธิภาพ
·        องค์กร -บรรลุเป้าหมาย
ลำดับขั้นตอนของความรู้
ข้อมูล(Information)  เป็น สารสนเทศ(Information) เป็นความรู้(Knowledge) เป็น ความชำนาญ(Expertise) เป็น ความสามารถ(Capability)
กระบวนการสร้างความรู้
·        Socialization – เข้าสังคม และดูตำรา ข้อมูลที่องค์กรมีอยุ่ว่ามีอะไรบ้าง หรือนำข้อมูลจากภายนอก เป็นการแปลงจาก tactic เป็น tactic
·        Externalization – ความรู้แบ่งเป็น 2 ประเภท 1. Tactic- ฝังลึก 2. Explicit – ชัดแจ้ง แสดงออกมาได้ชัดเจน เปลี่ยนจาก tactic เป็น explicit ยากที่จะ 1.หา 2.เปลี่ยนให้เป็น explicit
·        Combination – นำข้มูล explicitมารวมกับข้อมูลexplicit(หาข้อมูลเพิ่ม) ทำความรู้ให้เป็นความรู้แล้วนำไปเก็บในระบบสารสนเทศเพื่อสามารถนำไปแจกจ่ายให้คนที่จะใช้ต่อไป
      Internalization – อ่านฐานข้อมูลที่มีเพื่อให้สามารถนำไปใช้ต่อได้
กระบวนการของการจัดการความรู้ Turban et al., 2005
      การระบุถึงความรู้ (Knowledge Identification)  - ใช้สารสนเทศ เช่น Social Network
      การจัดหาความรู้ (Knowledge Acquisition) - ใช้สารสนเทศ เช่น Social Network ฐานข้อมูล
      การพัฒนาความรู้ (Knowledge Development) - ใช้สารสนเทศ เช่น e-learning
      การแบ่งปัน/กระจายความรู้  (Knowledge Sharing/Distribution) - ใช้สารสนเทศ เช่น webboard
      การใช้ความรู้ (Knowledge Utilization)
      การเก็บ/จดความรู้ (Knowledge Retention)
กระบวนการจัดการความรู้
      การแสวงหาความรู้  - เป็นกระบวนการที่องค์กรควรแสวงหาความรู้ ต่างๆทั้งภายในและภายนอก
      การสร้างความรู้ - เป็นกระบวนการที่สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ๆ
      การจัดเก็บความรู้ - เป็นกระบวนการที่องค์กรต้องกำหนดสิ่งสำคัญที่จะเก็บไว้เป็นความรู้
      การถ่ายทอดความรู้ - เป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่ยนย้ายข้อมูล ข่าวสาร ความรู้จากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง    
Present
เทคโนโลยี 3G
เทคโนโลยี 3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือ Third Generation of Mobile Telephone โดยมีสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ITU) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำและวางหลักเกณฑ์ในบริหารการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมให้กับประเทศสมาชิกต่างๆ ทั่วโลก ได้ทำการกำหนดมาตรฐานสิ่งที่เรียกว่า เครื่องโทรคมนาคมแบบเคลื่อนที่ ซึ่งรวมถึงโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย เรียกรวมกันว่ามาตรฐาน IMT-2000 (International Mobile Telecommunications-2000) ซึ่ง ITU ได้มีการกำหนดลักษณะโดยสรุป ดังนี้
·        ITU กำหนดให้ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ เช่น กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูลดิจิตอลไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
·        ITU กำหนดให้ต้องมีความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming)  คือ ผู้บริโภคสามารถถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
·        ITU กำหนดให้ต้องมีการบริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ
·        อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้
-          ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที
-          ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที
-          ทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที

จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G
                มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง
                จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้งานในที่ใดๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มใน เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน
                จากการตอบรับที่ดีของกลุ่มผู้บริโภคบริการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างรุนแรงในระหว่างผู้ประกอบการ ส่งผลกระทบต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue per User หรือ ARPU) และยังทำให้เกิดปัญหาผู้ใช้บริการย้ายค่าย (Brand Switching) ที่มากขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและยังเป็นการสร้างรายได้ เนื่องจากปรากฏการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง (Voice Service) ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจึงมีความเห็นตรงกันที่จะ สร้างบริการสื่อสารไร้สายรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่เปิดใช้งานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) พร้อมกับการวางแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการทางวิศวกรรม การตลาด และแผนการลงทุน เพื่อสร้างกระแสความต้องการ (Demand Aggregation) ให้กับฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีอยู่เดิม พร้อม ๆ กับผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ EMS (Enhanced Messaging Service) หรือ MMS (Multimedia Messaging Service) รวมถึงบริการท่องโลกอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป อุปกรณ์ไร้สายประเภท PDA (Personal Digital Assistant) และโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Phone) นอกจากนี้ เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA ซึ่งเรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G - 2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่มีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูล แบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา
                แต่เทคโนโลยี 2.5G , 2.75G ก็มีข้อจำกัดที่เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ , 1800 เมกะเฮิรตซ์ หรือ 1900 เมกะเฮิรตซ์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ จึงทำให้มีการพัฒนาเทคโนโลยี 3G ขึ้นมา

มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G
เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ
1) มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำ ไปพัฒนาจากยุค 2G , 2.5G , 2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลก คือ มาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA นี้เองที่กิจการร่วมค้า ไทย - โมบาย กำลังจะดำเนินการพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.ศ. 2548 นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค้า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
2) มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลัก คือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น
มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G , 2.5G , 2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice
อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลก  ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย - โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิด ให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป            
ประโยชน์ของเทคโนโลยี 3G
1) ลูกค้าสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยี Wi-Fi เพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตตามสถานที่ต่างๆ แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายด้าน ประการแรก คือ จำกัดเฉพาะลูกค้าที่เข้าไปใช้บริการตามสถานที่นั้นๆ และเมื่อมีผู้ใช้งานจำนวนมาก ก็ทำให้การดาวน์โหลดล่าช้าลงไป เมื่อเทียบกับค่าบริการและค่าใช้งานภายในสถานที่บริการนั้นๆ ถือว่ามีค่าใช้จ่ายมากพอสมควร แต่เมื่อมีเครือข่าย 3G ในโทรศัพท์มือถือ ลูกค้าก็ไม่จำเป็นต้องใช้ Wi-Fi อีกต่อไป ไม่ว่าจะพักผ่อนอยู่สถานที่ใด ก็สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ทันที
2) การรับ-ส่งข้อมูลความเร็วสูง ลูกค้าสามารถแนบไฟล์เพลงหรือวีดีโอไปพร้อมกับข้อความหรืออีเมล์และส่งออกไปได้อย่างรวดเร็ว ผู้รับก็สามารถดาวน์โหลดข้อมูลมาจัดเก็บได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ถึงแม้ปัจจุบันจะสามารถทำได้บนเครือข่าย EDGE แต่ก็มีความล่าช้าอยู่พอสมควรทำให้ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อเครือข่าย EDGE แพงตามไปด้วย
3) การสนทนาแบบเห็นหน้า (Video Telephony) และ การประชุมทางไกลผ่านวีดีโอ (Video Conference) ช่วยให้ลูกค้าสามารถสื่อสารได้พร้อมกันทั้งภาพและเสียงโดยจะเห็นหน้าคู่สนทนาไปพร้อมกับเสียงสนทนา ถึงแม้การใช้งานจริงอาจมีความล่าช้าของภาพเล็กน้อยแต่ก็ยังถือเป็นจุดขายที่น่าสนใจที่สุดของเครือข่าย 3G สำหรับโทรศัพท์มือถือที่รองรับการสนทนาแบบเห็นหน้า ก็มีวางจำหน่ายในประเทศไทยอยู่หลายรุ่น และเครือข่าย 3G ในไทยก็พร้อมแล้วสำหรับบริการนี้ เพียงแต่จำกัดใช้งานอยู่บางพื้นที่เท่านั้น
4) การชมวีดีโอหรือโทรทัศน์ ปัจจุบันมีโทรศัพท์มือถือที่รองรับ TV-tuner วางจำหน่ายอยู่ในไทยมากมาย โดยเป็นการส่งสัญญาณในรูปแบบอะนาล็อก ซึ่งคุณภาพของสัญญาณยังไม่มีความชัดเจน ยิ่งในบางพื้นที่ก็ไม่สามารถรับสัญญาณได้ครบทุกช่อง แต่เมื่อ 3G เข้ามา ลูกค้าก็สามารถรับชมโทรทัศน์หรือวีดีโอผ่านอินเตอร์เน็ตในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งมีข้อดี คือ สัญญาณภาพที่คมชัด และ รองรับโทรทัศน์ทั้งในและต่างประเทศ รวมไปถึงการชมวีดีโอในรูปแบบสตรีมมิ่งก็จะมีความรวดเร็วในการดาวน์โหลด
5) ใช้งานร่วมกันได้หลายประเทศ มาตรฐานเครือข่าย WCDMA เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) สามารถใช้บริการข้ามเครือข่าย (Roaming) ได้เช่นเดียวกับระบบ GSM และ สามารถนำไปใช้งานในต่างประเทศได้อีกด้วย แน่นอนว่าในประเทศที่จะนำไปใช้ต้องมีระบบ WCDMA เช่นเดียวกัน
6) ลูกค้าสามารถใช้อุปกรณ์โมเด็มที่รองรับเครือข่าย 3G  ไม่ว่าจะเป็น Aircard หรือ USB Modem แล้วใส่ซิมการ์ดในระบบ 3G เข้าไป เพื่อเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หรือโน้ตบุ๊ค เข้าสู่อินเตอร์เน็ตได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ตอบสนองลูกค้าที่เน้นใช้งานด้านข้อมูลเป็นหลัก เพราะคอมพิวเตอร์มีความสามารถมากกว่าโทรศัพท์มือถืออยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเบราเซอร์ หรือ โปรแกรมดาวน์โหลด
ข้อเสียของเทคโนโลยี 3G
                1) ภัยที่เกิดจากการติดต่อกับคนแปลกหน้า ที่มีเจตนาที่จะหลอกลวง หรือต้องการข้อมูลส่วนตัวของเรา
                2) สื่อต่างๆที่ไม่ดี เช่น สื่อลามกอนาจาร สื่อการพนัน สามารถเข้าถึงผู้ใช้ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
                3) เป็นช่องทางของมิจฉาชีพในการล่อลองจากการ chat
แนวคิดของการ Outsource
การ Outsource คือ การที่องค์กรมอบหมายงานบางส่วนของตนให้กับบุคคลหรือองค์กรภายนอก มาดำเนินการแทน โดยผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้กำหนดและควบคุมกำกับทุกส่วนตั้งแต่นโยบายไปจนถึงการปฏิบัติงานในทุกๆขั้นตอนของผู้รับจ้าง
                ผู้บริหารองค์กรเริ่มมีการพิจารณาที่จะมอบหมายภารกิจด้านการบริหารระบบสารสนเทศทั้งหมดหรือบางส่วนให้กับบุคคลภายนอกที่มีความรู้ความชำนาญและมีเทคโนโลยีที่ดีกว่าเข้ามาบริหารระบบสารสนเทศขององค์กรนั้นๆ
ประเภทของ IT Outsource
Desktop Service
เป็นการดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ Desktop เครื่อง Server และระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN) ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้ใช้บริการด้านสารสนเทศของหน่วยงานนั้นๆจะต้องได้รับบริการจากส่วนงานที่ให้บริการขององค์กรนั้นๆ ขอบเขตของการบริการนี้ยังแบ่งเป็นหลายระดับ โดยเริ่มตั้งแต่การวางแผนการวางระบบ Server ,PC ,LAN ของผู้ว่าจ้าง การดำเนินการติดตั้งทดสอบระบบงานต่างๆ การตอบปัญหาการใช้งานของเครื่อง PC ในลักษณะการบริการ ณ. จุดเดียว  การดูแลบำรุงรักษาซ่อมแซมเมื่อเครื่องชำรุด ไปจนถึงการซึ่งอาจจะรวมถึงการจัดซื้อ ติดตั้ง และการเปลี่ยนเครื่องให้ทันสมัยและพร้อมที่จะใช้งานกับระบบงานใหม่ๆอยู่ตลอดเวลาเป็นต้น
Example : Desktop Service
หน่วยงานที่ใช้บริการลักษณะนี้ ได้แก่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และบริษัท ESSO
Network Management
Networking & Connectivity Service
เป็นการบริหาร จัดการให้องค์กรสามารถใช้งานเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่างส่วนงานต่าง ๆ ขององค์กรหรือระหว่างองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยที่ผู้รับจ้างจะทำหน้าที่บริหารระบบเครือข่ายการสื่อสารของผู้ว่าจ้างซึ่งอาจจะรวมถึงการจัดหา ติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารต่างๆตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
Example : Network Management
Networking & Connectivity Service
หน่วยงานที่ใช้บริการลักษณะนี้ ได้แก่ กระทรวงแรงงาน เป็นต้น
Data Center Service
เป็นการบริการที่ครอบคลุมการบริหารจัดการศูนย์คอมพิวเตอร์ให้สามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การบริการอาจครอบคลุมถึงการออกแบบ จัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ติดตั้ง รวมถึงการจัดหาบุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญด้านการดำเนินการในศูนย์คอมพิวเตอร์มาดำเนินการบริหารศูนย์คอมพิวเตอร์แทนผู้ว่าจ้าง การดูแลระบบคอมพิวเตอร์ โดยที่ระดับของคุณภาพของการให้บริการ (Service Level) จะถูกกำหนดโดยข้อตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้ให้บริการและจะถูกควบคุมโดยผู้ว่าจ้าง 
Example : Data Center Service
หน่วยงานที่ใช้การบริการแบบนี้เช่น กรมสรรพากร ธนาคารกสิกรไทย เป็นต้น
Continuity Service
เป็นการบริการเพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับผู้ว่าจ้างในความต่อเนื่องของการให้บริการขององค์กรนั้นๆว่าจะสามารถให้บริการได้อย่างต่อเนื่องมากที่สุด การบริการนี้อาจจะรวมถึงการออกแบบ ติดตั้ง บริหาร ศูนย์คอมพิวเตอร์สำรองขององค์กรนั้นเพื่อเป็นการเพิ่มความมั่นใจในการให้บริการในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือเกิดการเสียหายอย่างรุนแรง (Disaster) ของศูนย์คอมพิวเตอร์หลัก การปรับปรุงเครื่องให้มีขนาดและความทันสมัยอยู่เสมอสามารถรองรับงานที่เพิ่มเติมได้
Example : Continuity Service
หน่วยงานที่ใช้บริการนี้ เช่น ธนาคารกสิกรไทย และสำนักงานประกันสังคม เป็นต้น
Web Hosting Service
การบริการนี้เป็นการให้บริการที่สามารถครอบคลุมเริ่มตั้งแต่การออกแบบ ติดตั้ง ดูแล ศูนย์คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ Web  ซึ่งอาจจะรวมถึงการนำ Web Server ของผู้ว่าจ้างมาติดตั้งและดูแลการให้บริการด้าน Internet ขององค์กรนั้นๆ  ผู้ให้บริการ Outsource ของบริการนี้ส่วนใหญ่เป็นผู้ให้บริการด้าน Internet เดิมอยู่แล้ว
Example : Web Hosting Service
หน่วยงานที่ใช้บริการนี้ เช่น โตโยต้าและซีเลนเต้ คลินิกเสริมความงาม เป็นต้น
Application Management Service
การบริการนี้เป็นการให้บริการด้านการบริหารโปรแกรมระบบงานต่างๆขององค์กรนั้นๆซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่ออกแบบ พัฒนา ติดตั้ง ดูแล โปรแกรมระบบงานนอกจากนี้อาจจะรวมถึงการตอบปัญหาด้านโปรแกรมระบบงาน (Application Help Desk ) การจัดการบริหาร Source Code, Version, Modification ของโปรแกรมระบบงานต่างๆ 
Example : Application Management Service
หน่วยงานที่ใช้บริการ ได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย และกรมสรรพากร
ประเด็นที่ควรพิจารณาในการดำเนินการ Outsource
·        ผู้ให้บริการ ( Outsourcer) ควรเป็นบริษัทที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ในการให้บริการด้าน Outsource ที่เป็นมาตรฐานสากล
·        ระดับการให้บริการ Outsource ควรจะต้องคำนึงถึงความลับของข้อมูลขององค์กรนั้นๆ
·        ควรมีบุคลากรเพื่อการบริหารและจัดการกับผู้ให้บริการเพื่อควบคุมระดับการให้บริการของผู้ให้บริการ
·        การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงและความพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงขององค์กร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงระบบสารสนเทศ อาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบทำงาน ดังนั้นองค์กรจึงต้องมีการเตรียมพร้อมและการจัดการให้คนในองค์กรไม่ต่อต้านระบบการทำงานใหม่ และไม่ทำให้การเปลี่ยนแปลงมาเป็นอุปสรรคในการทำงาน โดยยังทำให้วิสัยทัศน์หรือนโยบายหลักขององค์กรอยู่ในทิศทางเดิม
ข้อดีของการ Outsource
·        ลดภาระในการ จัดตั้งแผนกไอที ดูแลทรัพย์สินของระบบสารสนเทศ การพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้อยู่มีความรู้ความชำนาญด้านเทคโนโลยี สัญญาการ Outsource ที่ดีจะทำให้ผู้ว่าจ้างมีความยืดหยุ่นในการขยายประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์เพื่อรองรับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้นได้
·        องค์กรสามารถลดภาระในการวางแผนนโยบายทางด้านเทคโนโลยี โดยไม่จำเป็นต้องนำประเด็นของการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมาเป็นประเด็นสำคัญในการพิจารณา จึงทำให้องค์กรสามารถที่จะวางแผนกลยุทธ์โฟกัสไปยังการแข่งของธุรกิจได้อย่างเต็มที่
·        การทำสัญญา Outsourcing สามารถกำหนดระดับของบริการ (Service Level)หรือระดับหรืออัตราความผิดพลาดสูงสุดของระบบได้ จึงทำให้มีบุคคลมาร่วมรับความเสี่ยงในความผิดพลาดของระบบสารสนเทศ
ข้อด้อยของการ Outsource
·        การเปิดเผยความลับขององค์กร
·        ผลงานของบริษัท outsourcing ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ทำให้ต้องเสียเวลาในการแก้ไข ซึ่งอาจส่งผลเสียหายต่องานโดยรวมขององค์กรได้ และการที่องค์กรจะเปลี่ยนบริษัท outsourcing เป็นบริษัทอื่นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมี switching cost ในการโอนถ่ายงานสูง
Internet TV
เป็นการรับชมภาพและเสียงผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มายังหน้าจอโทรทัศน์ของผู้รับชมผ่านทางกล่อง STB (Set-Top-Box) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะติดตั้งอยู่ที่บ้านของผู้รับชม กล่องนี้จะทำหน้าที่รับสัญญาณข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตและแปลงสัญญาณข้อมูลนี้ให้อยู่ในลักษณะภาพและเสียงก่อนที่จะนำเข้าสู่หน้าจอแสดงผล โดยการเลือกรับชมรายการด้วย Internet TV นั้นสามารถเลือกรับชมได้ 2 ลักษณะคือ
·         การรับชมแบบสด หรือ live broadcasts เป็นการรับชมรายการแบบถ่ายทอดสดผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยรายการที่รับชมนั้นจะเป็นรายการเดียวกับที่ทางสถานีโทรทัศน์นั้นๆ ฉายอยู่ ทำให้ไม่สามารถที่จะหยุด บันทึก หรือเลือกรับชมเฉพาะบางส่วนของรายการได้
·         การรับชมแบบตามสั่ง หรือ on-demand videos เป็นการรับชมรายการที่ผู้ชมสามารถเลือกรับชมรายการต่างๆ ได้ตามความต้องการ ในลักษณะเดียวกับการเลือกฟังเพลงต่างๆ จาก playlist ของตนเอง โดยผู้รับชมสามารถเลือกช่อง รายการ ช่วงเวลา รวมไปถึงส่วนของรายการที่ต้องการจะรับชมได้ตามต้องการ สามารถหยุด และบันทึกรายการเหล่านี้ได้
                จากการรับชมสอง 2 ลักษณะข้างต้นนั้น ผู้ให้บริการก็มีการเก็บค่าบริการที่แตกต่างกันไปตามแต่ผู้ให้บริการนั้นจะกำหนด ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
1.               รับชมฟรี เป็นการรับชมรายการฟรี โดยเสียค่าบริการเพียงค่าอินเตอร์เน็ตเท่านั้น ลักษณะนี้เว็บไซต์ผู้ให้บริการ Internet TV นั้นจะไม่ได้รับเงินจากผู้ชมม แต่จะมีเงินสนับสนุนจากผู้ที่ลงโฆษณาภายในเว็บไซต์นั้น ซึ่งโฆษณานั้นอาจจะอยู่ด้านข้างของเว็บไซต์ หรืออยู่ในช่วงแรกก่อนการรับชมรายการต่างๆ ซึ่งก็ไม่เป็นการรบกวนผู้ชมรายการมากจนเกินไป
2.               เสียค่าบริการรายเดือน เป็นการรับชมรายการโดยเสียค่าบริการเป็นรายเดือน ในลักษณะนี้จะคล้ายกับการรับชมรายการผ่านเคเบิลต่างๆ เช่น UBC ซึ่งจะมีการเก็บค่าบริการหลายรูปแบบตามจำนวนของช่องที่สามารถเลือกรับชมได้ โดยการเก็บค่าบริการนั้นจะเป็นลักษณะเหมาจ่าย คือไม่ว่าจะดูมากหรือน้อย ก็จะเก็บค่าบริการตามรูปแบบที่ได้เลือกไว้
3.               เสียค่าบริการตามจำนวนที่รับชม เป็นการรับชมรายการโดยเสียค่าบริการเป็นรายรายการ การรับชมในลักษณะนี้จะเป็นเหมือนการเลือกซื้อหรือเช่ารายการ, ภาพยนตร์ต่างๆ จากร้านมาดูที่บ้าน เพียงแต่ผู้ชมสามารถกดสั่งได้จากหน้าจอและได้รับชมทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปซื้อหรือเช่า

ตัวอย่าง Internet TV
Apple TV               


             
                พัฒนาและเป็นเจ้าของโดยบริษัท Apple จุดเด่นของApple TV นี้ก็คือ มี User Interface ในลักษณะเดียวกับสินค้า Apple อื่นๆ (iPhone, Macbook) ทำให้ผู้ที่ใช้สินค้าของ Apple อยู่แล้วมีความสะดวกในการเลือกรับชม Apple TV แต่ Apple TV ก็มีข้อจำกัดอยู่ที่ Apple TV จะสามารถรับชมได้เฉพาะรายการที่อยู่ใน iTunes เท่านั้น ไม่สามารถเลือกรับชมรายการอื่นๆ นอกเหนือจากนั้นได้

Google TV

 
          พัฒนาและเป็นเจ้าของโดย Google โดยอุปกรณ์ที่ใช้มี 2 ลักษณะคือ
1.               Stand Alone TV เป็นโทรทัศน์ของ SONY ที่พัฒนาร่วมกับ Google โดยอุปกรณ์จะมีหน้าจอโทรทัศน์และรีโมทพิเศษ (ลักษณะคล้ายคีย์บอร์ด)
2.               Separate Box เป็นกล่องเชื่อมต่อสัญญาณของ Google ที่สามารถใช้ร่วมกับโทรทัศน์แบบ HDTV ของผู้ชมได้ ซึ่งกล่องนี้จะมาพร้อมกับรีโมทพิเศษเช่นเดียวกัน แต่ Separate Box นี้ผลิตโดยผู้ผลิต 2 บริษัทคือ Logitech Revue และ Sony Internet TV Blu-ray

3BB IPTV HD
 
          เป็น Internet TV ของคนไทย ซึ่งพัฒนาและเป็นเจ้าของโดย 3BB โดยอุปกรณ์ที่ใช้มีเพียงกล่อง STB (Set-Top-Box) ของ 3BB ซึ่งมีลักษณะการทำงานดังรูปด้านล่าง
 
           จากรูปจะเห็นว่าจะมีลักษณะการเชื่อมต่อจาก Router เข้าสู่ STB แล้วจึงต่อเข้าเครื่องโทรทัศน์อีกที ซึ่งเป็นลักษณะปกติของ Internet TV ที่มี STB โดย STB นี้จะเป็นตัวแปลงสัญญาณที่ไดรับมาอยู่ในระบบ Hi-Definition เพื่อความคมชัดของภาพและเสียง และสำหรับ 3BB นั้นได้มีการระบุรุ่นของ Router เป็นพิเศษที่สามารถใช้เชื่อต่อกับ STB ด้วย 

ลักษณะของ 3BB IPTV HD
·         ภาพและเสียงมีความคมชัดจาก ระบบ Hi-Definition
·         รองรับ USB Port ทำให้สามารถนำข้อมูลจาก USB เข้มาแสดงผลบนจอโทรทัศน์ได้
·         มีช่องรายการ HD Channel ที่ให้ภาพคมชัดบนความละเอียดสูงสุด มีทั้งภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ มิวสิควิดีโอ วาไรตี้ต่างๆ ตัวอย่างภาพยนตร์ใหม่ รวมไปถึงสามารถเลือกรับชมรายการทีวีย้อนหลังได้ถึง 7 วัน
·         มีบริการให้เช่าภาพยนตร์ ซึ่งมีทั้งระบบ Standard และ Hi-Definition
·         สามารถฟังวิทยุ เพลงต่างๆ ข่าวสั้น รวมไปถึง ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ได้
Wiki
ความหมายของ Wiki
วิกิ หรือ วิกี้ (wiki) คือ ลักษณะของเว็บไซต์แบบหนึ่ง ที่อนุญาต ให้ผู้ใช้ เพิ่มและแก้ไขเนื้อหาได้โดยง่าย ซึ่งบางครั้งไม่จำเป็นต้องการลงทะเบียนเพื่อแก้ไข ด้วยความง่ายในการแก้ไขและโต้ตอบ วิกิเว็บไซต์มักจะถูกนำมาใช้ในการร่วมเขียนบทความ
Wikipedia คือ   สารานุกรมเสรีออนไลน์หลายภาษาบนอินเทอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถอ่านและปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาได้ ทำให้วิกิพีเดียกลายเป็นสารานุกรมที่ได้รับการแก้ไขรวบรวมและดูแลรักษาจากอาสาสมัครหลายแสนคนทั่วโลกผ่านซอฟต์แวร์ ชื่อ มีเดียวิก ซึ่งทุกคนสามารถ Download มาติดตั้งได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายจากเว็บไซต์ ซึ่งปัจจุบันเผยแพร่เวอร์ชั่นล่าสุด คือ mediawiki-1.9.3
ประวัติความเป็นมา
Wiki สร้างขึ้นโดยวอร์ด คันนิงแฮม เมื่อ พ.. 2537 สำหรับโครงการ Portland Pattern Repository ภายใต้ชื่อของ วิกิตัวแรกชื่อว่า WikiWikiWeb โดยชื่อของ วิกิ นั้นมาจากชื่อรถประจำทางสาย "วิกิ วิกิ" (Wiki Wiki) ของระบบรถขนส่งแชนซ์ อาร์ที-52 ที่ สนามบินฮอโนลูลูในรัฐฮาวาย
Wikipedia เริ่มต้นเมื่อ 15 มกราคม พ.ศ. 2544 จากโครงการชื่อสารานุกรมนูพีเดียที่เขียนโดย ผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา ในปัจจุบันวิกิพีเดียมีทั้งหมดมากกว่า 250 ภาษา มีบทความมากกว่า 9, 000,000 บทความ และปัจจุบันวิกิพีเดียไทยมีทั้งหมด  31,140  บทความ วิกิพีเดียมีเซิร์ฟเวอร์ตั้งอยู่ 3 ที่ ได้แก่ใน รัฐฟลอริดา (สหรัฐอเมริกา) เซิร์ฟเวอร์ใหญ่ที่เก็บเนื้อหาทั้งหมดและเป็นที่ตั้งของมูลนิธิวิกิมีเดีย และเซิร์ฟเวอร์สำหรับช่วยในการจัดเก็บฐานข้อมูลตั้งอยู่ที่ อัมสเตอร์ดัม (เนเธอร์แลนด์)และโซล(เกาหลีใต้)
ลักษณะสำคัญของ Wiki
วิกิเน้นการทำงานแบบง่าย ผู้เขียนสามารถสร้างเนื้อหาบนเว็บได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ใน ภาษาเอชทีเอ็มแอล โดยข้อมูลถูกเขียนร่วมกันด้วย ภาษามาร์กอัป” อย่างง่ายโดยผ่านเว็บเบราว์เซอร์ ในแต่ละหน้าจะถูกเรียกว่า "หน้าวิกิ" และเนื้อหาภายในจะเชื่อมต่อกันผ่านทางไฮเปอร์ลิงก์
·        ง่ายสำหรับการสร้างและแก้ไขหน้าเว็บ
·        ไม่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบหรือยืนยันจากเจ้าของเว็บนั้น
การแก้ไขเอกสารในหน้าวิกิ
"ข้อความวิกิ" ประกอบไปด้วย ข้อความธรรมดารวมกับภาษามาร์กอัปอย่างง่าย ซึ่งใช้ในการกำหนดโครงสร้างของเอกสารและรูปลักษณ์ในการแสดงผล เช่น
·        การใช้เครื่องหมายดอกจัน ("*") ขึ้นต้นบรรทัด เพื่อเป็นสัญลักษณ์บอกว่าบรรทัดนั้นเป็นรายการหนึ่งในรายการแบบจุดนำ
สาเหตุที่ไม่ใช้ HTML
·        HTML มีความคลุมเครือ ทำให้ผู้ใช้สร้างจินตนาภาพถึงผลลัพธ์ได้ยา
·        ผู้ใช้ไม่สามารถใช้ความสามารถบางอย่างของภาษา HTML เช่น จาวาสคริปต์ และ Cascading Style Sheet ได้โดยตรง
·        ความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้น ในการนำวิกิไปใช้หลายระบบแสดงให้เห็นไฮเปอร์ลิงก์ที่ใช้งานได้เสมอ
การควบคุมความเปลี่ยนแปลงเนื้อหาในหน้า Wiki
·        "ปรับปรุงล่าสุด" ซึ่งเป็นรายการที่เรียงลำดับการเปลี่ยนแปลงจากล่าสุดจำนวนหนึ่งหรือเป็นรายการการเปลี่ยนแปลงที่ทำในช่วงเวลาหนึ่ง
·        "ประวัติการแก้ไขปรับปรุง" ซึ่งแสดงหน้าวิกิรุ่นก่อน
·        "ดิฟฟ์" ที่เน้นให้เห็นความเปลี่ยนแปลงระหว่างการแก้ไขปรับปรุง 2 ครั้ง
เทคโนโลยีของ Wiki
เว็บไซต์ Wiki ใช้ซอฟต์แวร์ MediaWiki ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์ประเภท General Public License (GPL) ออกแบบติดตั้งที่คอมพิวเตอร์ฝั่ง Server ขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถสูง พัฒนาโดยใช้ภาษา PHP ร่วมกับระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล MySQL
                การสร้างเอกสารเผยแพร่ใช้รูปแบบของ wikitext format โดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องมีความรู้ภาษา HTML หรือ CSS (Cascading Style Sheets) ซึ่งเป็นภาษาหลักในการสร้างและจัดรูปแบบเอกสารที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์
Requirements
ซอฟต์แวร์บริหารจัดการคือ MediaWiki ซึ่งสามารถ Download ได้ที่ www.mediawiki.org/wiki/Download
·        Web Server เช่น Apache or IIS
·         PHP version 5.0
·         Database Server MySQL, PostgreSQL
ประเภทของ Wiki
·        วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี
·        วิกิตำรา
·        วิกิคำคม
·        วิกิซอร์ซ
·        วิกิข่าว
·        วิกิพจนานุกรม
·        วิกิสปีซีส์
·        วิกิมีเดีย
ข้อดี
1. วิกิอนุญาตให้ทุกคนมีสิทธิ์ในการแก้ไขในเนื้อหาได้โดยเสรี และติดตามผู้แก้ไขเนื้อหาได้ เป็นการร่วมมือกันสร้างองค์ความรู้และเรียนรู้ร่วมกัน
2. ด้านเนื้อหาของสารานุกรมวิกิพีเดียได้รับการยอมรับจากนักวิชาการและสื่อมวลชน เนื่องจากเนื้อหาเปิดเสรีให้สามารถนำไปใช้ได้ รวมถึงเปิดเสรีที่ให้ทุกคนแก้ไข รวมถึงนโยบายมุมมองที่เป็นกลางจากทุกฝ่ายที่เขียนในสารานุกรม
3. เนื้อหาข้อความทั้งหมดในวิกิพีเดียเป็นเนื้อหาเสรี ถูกคุ้มครองโดยสัญญาอนุญาตเอกสารเสรีของ GNU ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาอนุญาตชนิด  "copyleft" ที่ให้สิทธิ์นำเนื้อหาไปแจกจ่ายซ้ำ, ดัดแปลงต่อยอด, และนำไปใช้งานได้อย่างเสรีทั้งนี้รวมถึงการใช้งานเชิงพาณิชย์ด้วย
ข้อจำกัด
1. ความถูกต้องและความสมบูรณ์ของเนื้อหาที่นำเสนอจากผู้เขียนที่เปิดให้แก้ไขปรับปรุงโดยเสรี อาจยังไม่เป็นที่ยอมรับในด้านวิชาการเหมือนกับเอกสารสิ่งพิมพ์ เช่น สารานุกรม
2. ในเว็บไซต์ประเภท Wiki ไม่สามารถกรองเนื้อหาประเภทขยะออกได้ ทำให้ผู้นำไปใช้อาจได้ข้อมูลที่นำไปใช้ประโยชน์ต่อไม่ได้ หรืออาจเกิดความเสียหายในการนำไปใช้
การประยุกต์ใช้
1. Wiki เป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้สอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง
2. ใช้ Wiki เป็นเครื่องมือในการสร้างกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบร่วมมือกัน
3. ใช้ Wiki เป็นเครื่องมือในการจัดการองค์ความรู้ในองค์กร
นายวรฐ ทรงฤกษ์ 5202112594

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น