วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Week10 :Enterprise System ,Supply Chain Management & Enterprise Resource Planning

Week10 :Enterprise System ,Supply Chain Management & Enterprise Resource Planning
Enterprisewide Systems
ERP  : เป็นระบบที่จัดการบริหารงานภายในขององค์กร ทำให้ทุกๆฝ่ายสามารถพูดคุย แลกเปลี่ยนข้อมูลและสื่อสารกันได้  
CRM : เป็นระบบคอยดูแลด้านลูกค้า พฤติกรรม เก็บข้อมูลลูกค้า
KM : เป็นระบบที่จัดเก็บและสร้างองค์ความรู้ภายในองค์กร
SCM : เป็นระบบที่ดูแล flow การทำงานในองค์กร ตั้งแต่ supplier ไปจนถึงcustomer
DSS : เป็นระบบที่ช่วยในการตัดสินใจระดับการจัดการ
Intelligence System : เป็นระบบสำหรับผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ
BI : เป็น software ในการหา data ในคลังข้อมูล(data warehouse)ขององค์กร   
Supply Chain Management
เป็นกระบวนการเริ่มตั้งแต่ sub-supplier ส่งวัตถุดิบมาถึง supplier แล้วส่งต่อมาที่บริษัท จากบริษัทก็จะส่งไปยังบริษัทขนส่งสินค้า ซึ่งจะส่งสินค้าไปยังลูกค้า กระบวนการดังกล่าวก่อให้เกิด information จำนวนมาก ต้องอาศัยระบบสารสนเทศเข้ามาช่วยให้ flow ของข้อมูลเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้การจัดการภายใน SCM เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Warehouse Management System (WMS)
-          เป็นระบบที่ใช้ในการจัดการคลังสินค้าว่าจะมีการจัดการอย่างไรให้สามารถใช้พื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการว่าสิ่งของแต่ละชิ้นควรวางอยู่ที่ใดในคลังสินค้า และมีระบบเก็บข้อมูลว่าสินค้าแต่ละชิ้นจัดเก็บอยู่ที่ส่วนไหนของคลังสินค้า
Inventory Management System (LMS)
-          เป็น software ที่ใช้ในการจัดการสินค้าคงคลัง เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสินค้าที่มีทั้งหมด
Fleet Management System
-          เป็นระบบที่ช่วยในการติดตามการส่งสินค้าว่าสินค้านั้นอยู่ ณ จุดใดและมีสินค้าอยู่ในจำนวนเท่าไหร่ รวมทั้งช่วยในการติดตามว่าในขากลับจะส่งสินค้าใดกลับมา และส่งข้อมูลกลับมาถึงภายในสำนักงานเพื่อรายงานการส่งสินค้าที่รวดเร็ว
Vehicle Routing and planning
-          เป็นระบบที่คำนวณในเรื่องของน้ำมัน ระยะทาง เพื่อที่จะบอกว่ารถบรรทุกเดินทางไปในเส้นทางไหนจะประหยัดและรวดเร็วที่สุด
Vehicle Based System
-          เป็นระบบที่ติดตามว่ารถบรรทุกอยู่ที่ไหน เช่น รถทัวร์ที่ใช้ระบบ GPS ติดตามตรวจสอบว่ารถเดินทางไปถึงที่ไหนแล้ว
10 IT Trends for Logistics Supply Chain Management
1.               Connectivity
-       เป็นการเชื่อมต่อเข้าระบบ เช่น
o   802.11n เป็นความแรงของอินเตอร์เน็ต คล้ายๆ WIFI แต่มีความแรงกว่า มีความเร็วประมาณ 600 Mbit/s เร็วกว่าของบ้านเราประมาณ 10 เท่า
o   Bluetooth
o   GPRS
2.               Advanced Wireless : Voice & GPS
·        การสื่อสารด้วยเสียงและจีพีเอสเชื่อมรวมไปยังคอมพิวเตอร์ที่มีความทนทาน
·        การเชื่อมรวมการติดต่อเข้าด้วยกันยังคงดำเนินต่อไปด้วยการนำระบบสื่อสารจีพีเอสมาใช้กับคอมพิวเตอร์เคลื่อนที่ ตัวอย่างเช่น ในรุ่น CN 3 ของบริษัทอินเตอร์เมค ประกอบไปด้วยระบบเสียงและข้อมูลไร้สายครอบคลุมพื้นที่กว้างไกล เชื่อมต่อด้วย 802.11 บลูทูธ และจีพีเอส ทั้งหมดบรรจุอยู่ในคอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็กที่สามารถใส่ไว้ในกระเป๋าเสื้อ ได้
3.               Speech Recognition
·        การสั่งงานด้วยเสียง
·        เทคโนโลยีด้านเสียงอีกอย่างสำหรับการดำเนินการด้านซัพพลายเชน คือ การสั่งงานด้วยเสียงพูดสำหรับการป้อนข้อมูลแบบแฮนด์ฟรี ซึ่งกำลังเป็นคลื่นลูกใหม่ของนวัตกรรมและมีการนำไปใช้ การสั่งงานด้วยเสียงพูดสามารถช่วยระบบการผลิตได้ โดยผู้ใช้ไม่ต้องมัวแต่เพ่งมองที่จอคอมพิวเตอร์อีกต่อไป
4.               Digital Imaging
·        การประมวลผลภาพดิจิตอล
·        บริษัทขนส่งและกระจายสินค้าใช้กล้องดิจิตอลเชื่อมรวมกับคอมพิวเตอร์แบบพกพา ดังนั้นพนักงานขับรถสามารถบันทึกข้อมูลการจัดส่ง จัดเก็บใบเสร็จที่ประทับตรา และรายละเอียดของเงื่อนไขที่ใช้ในการป้องกันการส่งสินค้า
5.               Portable Printing
·        การพิมพ์แบบเคลื่อนที่
·        มีการใช้งานเครื่องพิมพ์แบบพกพาที่ทนทานเป็นประจำเพื่อให้ได้เอกสารอ้างอิง เมื่อต้องการใช้งาน สำหรับการใช้งานทั่วไป ได้แก่ การจัดเตรียมใบส่งสินค้าที่มีการลงนาม ใบสั่งซื้อ ใบสั่งงาน และรายการการตรวจสอบ การใช้เครื่องพิมพ์และคอมพิวเตอร์แบบพกพาร่วมกันจะทำให้ลูกค้าสามารถมี เอกสารที่เขาต้องการ
6.               2D & other barcoding advances
-          เป็น barcode 2 มิติ สร้างขึ้นเพื่อให้ design เข้ากับองค์กรแต่ละองค์กรได้
7.               RFID
-          เป็น chip ที่ฝังอยู่ในตัวสินค้าหรือบัตรประเภท easy cash ซึ่งสามารถส่งสัญญาณออกมาด้วยตัวอเองได้ ถ้าใช้ในคลังสินค้า จะทำให้สามารถที่จะตรวจสอบ เช็คจำนวนสินค้าได้อย่างสะดวก
8.               Real Time Location System; RTLS
·        ระบบแสดงตำแหน่งในเวลาจริง
·        ระบบแสดงตำแหน่งในเวลาจริง (RTLS) ทำให้องกรสามารถขยายเครือข่ายแลนไร้สายขององกรเข้าสู่ระบบการติดตามสินทรัพย์
9.               Remote Management
-          เป็นการจัดการทางไกล ควบคุมจากระยะไกล สามรถตรวจสอบและติดตามคลังสินค้าได้
10.         Security
-          ความปลอดภัยของอุปกรณ์และเครือข่ายไร้สาย ซึ่งมักจะมีความเสี่ยงในการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลอื่นหรือการขโมยตัวอุปกรณ์
SCM
- ทุกหน่วยงานที่อยู่ใน SC ต้องมีการ share ข้อมูลทั้งภายในและภายนอกองค์กร เช่น wal-mart จะมีการ share ข้อมูลกับ supplier เพื่อให้สามารถสั่งสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ในทางปฏิบัติต้องอาศัย Trust ระหว่างกัน
- ทำให้มีการวางแผน ออกแบบกระบวนการผลิต การขนส่งรวมทั้ง flow ของสินค้า
- ทำให้การเก็บสินค้าคงคลังลดลง
- การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Enterprise System
ทำให้คนในองค์กรสามารถที่จะติดต่อสื่อสารกันได้ มีการ share ข้อมูลร่วมกัน และมีฐานข้อมูลส่วนกลางสำหรับการเก็บข้อมูล ทำให้การดำเนินงานขององค์กรเป็นไปอย่างสอดคล้องกันทั่วทั้งองค์กร
Integrate Business Functionality
-          สามารถที่จะเก็บข้อมูลยอดขาย ข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์ผลได้ ได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ต่อได้
-          ทำให้ Business process เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
Enterprise Resource Planning (ERP) Systems
ปกตินั้นมักจำหน่ายเป็น module เนื่องจากถ้าซื้อทั้ง system จะแพงเกินไป รวมไปถึงเวลาที่ใช้ในการ train นานเกินไป เนื่องจากต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติม นอกจากนี้บริษัทยังอาจจะมีระบบ IT เดิมอยู่แล้วในบาง module ทำให้องค์กรไม่ได้ต้องการทุก feature ของระบบ ตัวอย่างเช่น SAP, Oracle
Softwareต่างๆส่วนใหญ่จะซื้อมาเป็นmodule ไม่ได้ซื้อทั้งหมดโดยมีเหตุผลคือ
1.แพง
2.ต้องมีการtrainingใหม่
เวลาติดตั้งระบบใหม่ระบบเก่ายังคงต้องใช้ควบคู่กันไปก่อน เป็นสาเหตุความยุ่งยากในการติดตั้งระบบ
Major ERP Modules
-          Sales and Distribution
-          Materials Management
-          Financial Accounting
-          Human Resources
Third-Party Modules
พัฒนา module ขึ้นมาเพื่อปรับใช้กับระบบเดิมที่มีอยู่ เช่น นำปรับเข้ากับ SAP, Oracle ที่มีอยู่ ข้อเสียคือมันอาจไม่ดีพอ เหมือนใช้ของเถื่อน
ERP – Lease or Buy?
บริษัทควรที่จะซื้อหรือเช่า ขึ้นอยู่กับเงินทุน บริษัทอาจจะสร้างขึ้นมาก็ได้ แต่บริษัทส่วนใหญ่มักที่จะเช่า เนื่องจากระบบที่จะต้องใช้มีจำนวนมาก
Present
  เทคโนโลยี AR ได้เริ่มมีการคิดค้นมาตั้งแต่ปี ค.. 2004 ปัจจุบันเทคโนโลยีเสมือนจริงถูกนำมาใช้กับธุรกิจต่างๆ เช่น อุตสาหกรรม การแพทย์ การตลาด การบันเทิง การสื่อสาร โดยใช้เทคโนโลยีความจริงเสมือนมาผนวกเข้ากับเทคโนโลยีภาพผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ และแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือบนหน้าจอโทรศัพท์มือถือ ทำให้ผู้ใช้สามารถนำเทคโนโลยีเสมือนจริงมาใช้กับการทำงานแบบออนไลน์ที่สามารถโต้ตอบได้ทันทีระหว่างผู้ใช้กับสินค้าหรืออุปกรณ์ต่อเชื่อมแบบเสมือนจริงของโมเดลแบบสามมิติ ที่มีมุมมอง 360 องศา โดยผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องไปสถานที่จริง
แนวคิดหลักของเทคนิค AR 
 คือการพัฒนาเทคโนโลยีที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Reality) และความเสมือนจริง (Virtual) เข้าด้วยกัน ผ่านซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ เช่น Webcam, Computer, Cloud Computing หรืออุปกรณ์อื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งภาพเสมือนจริงนั้นจะแสดงผลผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์บน Monitor, บน Projector หรือบนอุปกรณ์แสดงผลอื่นๆ โดยภาพเสมือนจริงที่ปรากฏขึ้นจะมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) กับผู้ชมได้ทันที อาจมีลักษณะทั้งที่เป็นภาพนิ่งสามมิติ, ภาพเคลื่อนไหว หรืออาจจะเป็นสื่อที่มีเสียงประกอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการออกแบบสื่อแต่ละรูปแบบว่าให้ออกมาแบบใด พื้นฐานหลักของ AR ที่ยอดเยี่ยมจำเป็นที่ต้องรวบรวมหลักการของ Motion Detection, Beat Detection และ Voice Recognize and Image Processing นอกจากการจับการเคลื่อนไหวผ่าน Motion Detect แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น ต้องมีการจับ Voice ของผู้ใช้บริการและประมวลผลด้วยหลักการ Beat Detection เพื่อเกิดจังหวะการสร้างทางเลือกให้แก่ระบบ เช่น เสียงในการสั่งให้ตัว Interactive Media ทำอะไรต่อไป โดยกระบวนการภายในของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่
·         การวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็นขั้นตอนการค้นหา Marker จากภาพที่ได้จากกล้องแล้วสืบค้นจากฐานข้อมูล (Maker Database) ที่มีการเก็บข้อมูลขนาดเเละรูปแบบของ Marker 
·         การคำนวณค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ (Pose Estimation) ของ Maker เพื่อนำมาวิเคราะห์รูปแบบของ Marker เทียบกับกล้อง
·         กระบวนการสร้างภาพ 2 มิติ จากโมเดล 3 มิติ (3D Rendering) เป็นการเพิ่มข้อมูลเข้าไปในภาพ โดยใช้ค่าตำแหน่งเชิง 3 มิติ ที่คำนวณได้จนได้ภาพเสมือนจริง ดังแสดงในภาพ

ภาพที่ 1 : แสดงการทำงานของเทคโนโลยีเสมือนจริง
 เทคโนโลยีเสมือนจริงสามารถแบ่งประเภทตามส่วนวิเคราะห์ภาพ (Image Analysis) เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Maker เป็นหลักในการทำงาน (Maker Based AR) และการวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่างๆ ที่อยู่ในภาพมาวิเคราะห์ (Maker-less based AR)
หลักการของเทคโนโลยีเสมือนจริง   ประกอบด้วย 
1.               ตัว Maker (หรือที่เรียกว่า Markup)
2.               กล้องVDO กล้องWebcam กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือตัวจับSensor อื่นๆ
3.               ส่วนแสดงผล อาจเป็นจอภาพคอมพิวเตอร์ หรือจอภาพโทรศัพท์มือถือ หรืออื่นๆ 
4.               ซอฟแวร์หรือส่วนประมวลผลเพื่อสร้างภาพหรือวัตถุแบบสามมิติ
 พื้นฐานหลักของ AR จำเป็นต้องรวบรวมหลักการของการตรวจจับการเคลื่อนไหว (Motion Detection) การตรวจจับการเต้นหรือเคาะ (Beat Detection) การจดจำเสียง (Voice Recognize) และการประมวลผลภาพ (Image Processing) โดยนอกจากการตรวจจับการเคลื่อนไหวผ่าน Motion Detect แล้ว การตอบสนองบางอย่างของระบบผ่านสื่อนั้น ต้องมีการตรวจจับเสียงของผู้ใช้และประมวลผลด้วยหลักการ Beat Detection เพื่อให้เกิดจังหวะในการสร้างทางเลือกแก่ระบบ เช่น เสียงในการสั่งให้ตัว Interactive Media ทำงาน 
ระบบเสมือนจริงบนโทรศัพท์มือถือ
 ระบบเสมือนจริงบนโทรศัพท์มือถือ (Mobile AR) ทำให้ผู้ใช้สามารถรับข้อมูลหรือข่าวสารได้ทันทีตามคุณลักษณะของซอฟแวร์หรือโปรแกรมต่างๆ ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ เเบบที่ผู้ใช้สามารถพกพาได้อย่างสะดวก โดยการเเสดงข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับจากเครือข่ายอินเตอร์เน็ตบนหน้าจอของโทรศัพท์มือถือ ทั้งนี้โทรศัพท์มือถือที่สามารถใช้ระบบเสมือนจริงได้จะต้องมีคุณสมบัติของเครื่อง ดังนี้ 
·         กล้องถ่ายรูป
·         GPS ที่สามารถระบุพิกัดตำแหน่งและเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
·         เข็มทิศดิจิตอลในเครื่อง
Mobile Operating System

·         Mobile Operating System หรือ Mobile OS เป็น ระบบปฏิบัติการสำหรับใช้กับเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ ซึ่งโทรศัพท์มือถือที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนั้น มีอยู่หลายระบบปฏิบัติการด้วยกัน เช่น Symbian, IOS, Windows Mobile, Android ทั้งนี้ Mobile OS ถือเป็นตัวบ่งบอกว่าโปรแกรมเสริมอื่นๆ จะสามารถใช้งานร่วมกันได้หรือไม่ 

ความหมาย

·         ระบบปฏิบัติการ (Operating System) เป็น ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป มีหน้าที่หลัก ๆ คือ จัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กัน

ระบบปฏิบัติการมือถือหลักๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันได้แก่
1.               Symbian OS ปัจจุบันNOKIAได้ซื้อทั้งหมด เป็นopen source
2.               BlackBerry OS (RIM OS)
3.               iPhone OS
4.               Windows Phone / Windows Mobile OS
5.               Android

Video Telepresence

Video Telepresence
                เทเลพรีเซ็นส์ คือ เทคโนโลยีที่พัฒนามาจากระบบวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ที่ได้มีการพัฒนาขึ้นในปีค.ศ.1960 และเริ่มใช้งานจริงในปีค.ศ.1980 ซึ่งโดยหลักการแล้ว เทเลพรีเซ็นส์ใช้เทคโนโลยีพื้นฐานเดียวกับวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์ แต่มีความต่างขององค์ประกอบของระบบที่ชัดเจน 3 ด้าน คือ network technologies, conference hardware, conference software ซึ่งเทคโนโลยีที่มีความก้าวหน้ากว่าทำให้เทเลพรีเซ็นส์ให้ภาพที่สมจริงกว่า อรรถประโยชน์ที่สูงกว่า และการติดตั้งต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมการใช้งานที่เหนือกว่าวิดีโอคอนเฟอเร็นซ์

ระบบเทเลพรีเซ็นส์มีส่วนประกอบขั้นต่ำ คือ โคเดค (Codec - ชิปแปลงข้อมูล) อุปกรณ์บีบขยายสัญญาณ กล้อง จอภาพ และเทเลพรีเซ็นส์ยูสเซอร์อินเทอร์เฟซ หรือ เอ็นจินซึ่งมีจำนวนจอขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละองค์กร
ห้องประชุมเทเลพรีเซ็นส์ มักจะประกอบไปด้วยโต๊ะประชุมวางที่วางประกบกับจอภาพขนาดใหญ่ ทำหน้าที่แสดงภาพในแนวโค้งโอบล้อม เพื่อให้สายตาของผู้เข้าประชุมมองเห็นผู้นั่งฝั่งตรงข้ามเสมือนอยู่ในห้องเดียวกัน ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้รู้สึกคล้ายประชุมแบบตัวต่อตัวจริงๆ
อาจกล่าวได้ว่า เทเลพรีเซ็นส์เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดประชุม เชื่อมโยงสานสัมพันธ์ และทำงานร่วมกันเป็นทีมโดยไม่ต้องนั่งเครื่องบินมาพบกัน ซึ่งเป็นความสะดวกสบายที่ไม่เสียประสบการณ์อันใกล้ชิดไป

เทเลพรีเซ็นส์ให้ประสบการณ์เสมือนจริง

                ในการสร้างให้มีภาพที่เสมือนจริงนั้น ระบบเทเลพรีเซ็นส์จำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีหลากหลายประเภทเข้าด้วยกัน การออกแบบตกแต่งภายในห้อง และการจัดการดูแลที่ดี ซึ่ง การเพิ่มมูลค่า ของเทคโนโลยีนี้นั้นเกิดขึ้นจากองค์ประกอบหลักๆ ดังต่อไปนี้
§  ระบบภาพและเสียงคุณภาพสูง: ในการสร้างบรรยากาศเสมือนจริงนั้น ระบบเสียงจำเป็นที่จะต้องคมชัด ไม่ echo และมีระดับเสียงที่พอเหมาะ ทิศทางของเสียงนั้นก็ควรที่จะติดตั้งให้เสมือนว่ามาจากผู้เข้าร่วมประชุมที่นั่งอยู่ในทิศทางต่างๆจริงๆ ระบบภาพนั้นก็จะต้องคมชัด มีขนาดเสมือนจริง และไม่ dalay ดังนั้น ขนาดของหน้าจอ ระยะห่างระหว่างจอ กล้อง และเก้าอี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ
§  ความไม่สลับซับซ้อน: เพื่อความง่ายในการใช้งาน ผู้ให้บริการ เช่น Cisco จึงออกแบบให้ใช้งานระบบนี้ง่ายด้วยการกดเพียงปุ่มเดียว และจะมีแผนกพนักงานหรือระบบที่จะช่วยในเรื่องของการเชื่อมต่อให้ ทำให้หลังการติดตั้งระบบเรียบร้อยแล้วผู้ใช้บริการไม่ต้องติดตั้งหรือปรับเปลี่ยนตัวระบบเลย จึงง่ายต่อการใช้งาน
§  ความน่าเชื่อถือสูง: ในประเด็นนี้ ผู้ให้บริการจะมีการตรวจสอบระบบอยู่เสมอเพื่อให้การให้บริการมีความสม่ำเสมอและมีความน่าเชื่อถือ
§  สภาพแวดล้อมที่ยอดเยี่ยม: ในการจำลองสภาพแวดล้อมที่เสมือนจริงและสมเหตุสมผลนั้น จะต้องควบคุมทั้งเรื่องของเฟอร์นิเจอร์ แสง หรือกระทั่งสีผนังและวัสดุต่างๆ ให้ทุกที่เหมือนกันทุกประการเหมือนห้องๆเดียวกัน และดูแล้วเป็นหนึ่งเดียวกันกับภาพในจอ นอกจากนั้น อุปกรณ์ต่างๆ เช่น ไมโครโฟน, ลำโพง, กล้อง ฯลฯ ยังถูกซ่อนเอาไว้เพื่อไม่ให้รู้สึกว่าอยู่ในห้องประชุมทางไกลอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม การที่จะได้มาซึ่งคุณภาพทั้งหลายเหล่านี้ มีต้นทุนที่สูงมากเป็นเงินจำนวน 100,000 ถึง 400,000 ดอลลาร์สหรัฐ สำหรับการสร้างห้องที่สมบูรณ์ นอกจากนี้ ยังมีค่าใช้จ่ายการบำรุงรักษาระบบที่เกิดขึ้นทุกๆเดือน เป็นจำนวนเงินตั้งแต่ไม่กี่พันดอลลาร์สหรัฐจนถึงมากกว่า 18,000 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งขึ้นอยู่กับคุณภาพของบริการ และขนาดแบนด์วิดธ์เครือข่ายที่เช่า
 และเนื่องจากการวางระบบภาพนั้น กล้องจะต้องหันในมุมที่ให้ขนาดเสมือนจริง และให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมรู้สึกว่ามองหน้าคู่สนทนาอยู่จริง ทำให้ผู้ที่เข้าร่วมประชุมจะต้องนั่งในมุมที่ได้จัดไว้อย่างถูกต้อง และมีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนของผู้เข้าร่วมประชุมอีกด้วย ทำให้เทเลพรีเซ็นส์นั้นมีความเป็น สตูดิโอมากกว่าแค่ ห้องประชุม

ส่วนประกอบขั้นพื้นฐาน
  • กล้องความละเอียดสูง 720p และ 1080p และเทคโนโลยีการเข้ารหัส/ถอดรหัส
  • ตัวถอดรหัสวีดีโอ H.264 เพื่อให้ได้คุณภาพสูงที่สุดและอัตราบิตเรทที่ต่ำที่สุด
  • โปรโตคอลการเริ่มต้นเซสชัน
  • การเข้ารหัสข้อมูลสัญญาณเสียงขั้นสูงแบบแถบกว้าง (Wideband advanced audio coding with low delay - AAC LD)
  • ระบบเสียงพิเศษหลายช่องทางพร้อมการตัดเสียงสะท้อนและอุปกรณ์กรองสัญญาณรบกวน
  • การปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสำหรับการรับฟังภาพ เสียง และประสบการณ์การใช้งานที่ดีสุด
  • การเข้ารหัสมีเดียและการส่งสัญญาณสมบูรณ์แบบที่ไม่มีเวลาหน่วง
  • การบันทึกวีดีโอความละเอียดสูงสำหรับข้อความคุณภาพสูง
  • การประสานการทำงานระหว่างระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ H.323 และอุปกรณ์ปลายทางอื่นๆ ทั้งแบบความละเอียดปกติและความละเอียดสูง

การประยุกต์ใช้ระบบเทเลพรีเซ็นส์ในปัจจุบัน
1.การประยุกต์ในด้านการประกอบธุรกิจ
ปัจจุบันในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา มีบริษัทให้บริการเช่าห้องระบบเทเลพรีเซ็นส์เพื่อการประชุมทางไกล ซึ่งบริษัทรายใหญ่ที่ให้บริการระบบนี้ในตลาด ได้แก่ Cisco, HP, Polycom และ Tandberg โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ บริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางของพนักงานและผู้บริหารที่สูง ดังนั้น บริการนี้จึงเน้นตอบสนองด้านการลดค่าใช้จ่ายการเดินทางของพนักงานในองค์กร ช่วยให้ผู้บริหารไม่ต้องเสียเวลาในการบินข้ามประเทศไปมาในการตัดสินใจเชิงธุรกิจ ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วหากมีเรื่องด่วนที่ต้องอาศัยการตัดสินใจระหว่างผู้บริหารระดับสูงหลายคนซึ่งประจำอยู่ในหลายภูมิภาค ทั้งนี้อุตสาหกรรมการให้บริการระบบเทเลพรีเซ็นส์มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี ค.ศ.2008 มีมูลค่าตลาดสูงถึง 350 ล้านดอลลาร์
ปัจจุบัน ถึงแม้ว่าระบบเทเลพรีเซ็นส์ยังไม่แพร่หลายในวงกว้าง แต่บริษัทข้ามชาติหลายบริษัทก็มีห้องเทเลพรีเซ็นส์เป็นของตัวเองแล้ว เช่น Bank of America Corp., PepsiCo Inc. , Procter & Gamble Co. ซึ่งกรณี P&G นั้น ผู้บริหารของ P&G ได้เปิดเผยว่าบริษัทมีระบบซิสโก้เทเลพรีเซ็นส์ประมาณ 70 ห้องทั่วโลก และบริษัทได้ประมาณว่าทุกการลงทุน 1 ดอลลาร์สหรัฐสำหรับระบบเทเลพรีเซ็นส์ จะช่วยให้ประหยัดค่าเดินทางและเพิ่มปริมาณผลผลิตได้ถึง 4 ดอลลาร์สหรัฐเลยทีเดียว
2.การประยุกต์ในด้านการศึกษา
มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาขั้นสูงในประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการนำระบบเทเลพรีเซ็นส์มาใช้เพื่อความก้าวหน้าทางการศึกษา เพิ่มระดับความร่วมมือและความสะดวกในการเข้าถึงการศึกษาระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
3.การประยุกต์ในด้านการแพทย์
                ระบบเทเลพรีเซ็นส์ ถูกนำไปใช้ในเพื่อประสิทธิภาพในการแพทย์ โดยสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ(The International Telecommunication Union) ได้จัดตั้ง “telemedicine project” ในหลายประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น ประเทศโมซัมบิก ประเทศซีเนกัล ประเทศจอร์เจีย ฯลฯ  โดยใช้ระบบเทเลพรีเซ็นส์เพื่อการติดต่อสื่อสารด้านการแพทย์ระหว่างเมืองเล็กๆกับเมืองใหญ่ที่มีเทคโนโลยีด้านการแพทย์และทีมแพทย์ที่ดีกว่า
ประเทศไทยกับระบบเทเลพรีเซ็นส์
                การใช้งานส่วนใหญ่จะพบในบริษัทในเครือบริษัทข้ามชาติ เช่น P&G ฯลฯ สำหรับบริษัทสัญชาติไทย มีบริษัทปตท.เป็นบริษัทที่ริเริ่มโครงการด้านระบบเทเลพรีเซ็นส์อย่างจริงจัง โดยร่วมมือกับ MFEC ในการพัฒนาและติดตั้งระบบเทเลพรีเซ็นส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงาน นอกจากนี้ ที่เห็นในข่าวบ่อยครั้งในช่วงหลังๆ ก็คือ นักการเมืองระดับสูงของไทยที่เดินทางไปประชุมต่างประเทศ แล้วใช้บริการระบบเทเลพรีเซ็นส์เพื่อรายงานผลสรุปการประชุมแบบรวดเร็วทันใจกลับมายังประเทศไทย

งานวิจัยของบริษัทซิสโก้เกี่ยวกับระบบเทเลพรีเซ็นส์ ชื่อ “More Than Travel Savings”
                ซิสโก้เป็นบริษัทให้บริการห้องประชุมระบบเทเลพรีเซ็นส์รายใหญ่ในตลาด ซึ่งให้บริการมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ปีค.ศ.2006 ซึ่งในช่วงเวลา 1 ปี บริษัทได้ให้บริการห้องประชุมทางไกลผ่านระบบเทเลพรีเซ็นส์มากถึง 31,381 ครั้ง ซึ่งประมาณการต้นทุนที่ลดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางได้ถึง 52.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากถึง 15,561 ตัน ซึ่งคิดเทียบเท่ากับการลดการใช้รถบนถนน 3,364 คัน นอกจากนี้ ซิสโก้ยังพบว่าระบบเทเลพรีเซ็นส์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานแต่ละหน่วยงานและการสื่อสารระหว่างกัน ทำให้ส่งผลต่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นด้วย

อนาคตของเทคโนโลยีเทเลพรีเซ็นส์
เทเลพรีเซ็นส์ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและแพร่หลายกว่า 140 ประเทศทั่วโลก ซึ่งระบบนี้ไม่เพียงแต่จะลดค่าใช้จ่ายด้านการเดินทางเท่านั้น แต่ยังสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานในองค์กรและเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานด้านต่างๆอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ ในอนาคตระบบเทเลพรีเซ็นส์น่าจะกลายเป็น next generation ของรูปแบบการสื่อสาร ได้อย่างไม่ยากเย็น 
SOA (Service-Oriented Architecture)
SOA (Service-Oriented Architecture) หมายถึง แนวคิดการออกแบบและวางโครงสร้างของซอฟต์แวร์ขององค์กรขนาดใหญ่ในลักษณะที่เอื้อให้ผู้ใช้สามารถหยิบเอาเฉพาะเซอร์วิส (Service) ที่ต้องการซึ่งเป็นองค์ประกอบของซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ มารวมกันเป็นแอพพลิเคชันใหม่ที่ตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างได้อย่างยืดหยุ่น รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ตามหลักการของการนำกลับมาใช้ใหม่ (Reusability)


การอธิบายแนวคิด SOA สามารถแบ่งได้เป็น 2 คำ คือ Service-Oriented และ Architecture
- Service-Oriented เป็น Software ที่ไม่ใช่ซอฟต์แวร์แพ็คเกจ แต่เป็นซอฟต์แวร์ตัวเล็ก ทำงานเฉพาะด้าน ขึ้นอยู่กับว่าจะแบ่งเป็นบริการอะไรบ้าง
- Architecture คือ การออกแบบ โดยจะมององค์กรโดยรวมว่าต้องการบริการอะไรบ้าง ก็จะแบ่งบริการนั้นๆออกเป็นส่วนย่อยๆ
                 
ทั้งนี้ หลายคนมองว่า SOA คือ web service แต่จริงๆแล้วไม่ใช่เพราะ web service เป็นแค่เครื่องมือในการใช้งาน ดังนั้น SOA จึงไม่ใช่สินค้า หาซื้อไม่ได้ แต่มันคือแนวคิดที่ต้องสร้างเองในองค์กร
ปัจจุบัน SOA (Service-Oriented Architecture) เป็นหลักการการออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ที่มีการพูดถึงกันมาก โดยหลายๆ องค์กรพยายามที่จะออกแบบระบบทางด้านไอทีให้เข้าสู่ระบบ SOA แต่เนื่องจาก SOA เป็นหลักการในการออกแบบ ดังนั้นการทำความเข้าใจและนำไปพัฒนาให้ใช้งานได้จริงนั้น ยังเป็นเรื่องที่ยาก จนเมื่อเว็บเซอร์วิส (Web Service) ซึ่งเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาตามหลักการของ SOA เกิดขึ้นมา จึงทำให้แนวคิด SOA ได้รับความนิยมขึ้นมาอย่างมาก จนบางครั้งทำให้หลายๆ คนคิดว่า SOA และ web service เป็นเรื่องเดียวกัน แต่จริงๆ แล้ว SOA เป็นแนวคิดหรือรูปแบบในการออกแบบการให้บริการ ส่วนเว็บเซอร์วิสเป็นวิธีการหนึ่งในการพัฒนาตามหลักการของ SOA เท่านั้น ทั้งนี้อาจใช้แนวทางอื่นในการพัฒนาระบบ SOA ก็ได้ เช่นการใช้ CORBA (Common Object Request Broker Architecture) หรือ Java RMI (Remote Method Invocation)

ที่มาของ SOA
ระบบสถาปัตยกรรมเชิงบริการหรือ SOA เป็นแนวคิดในการจะออกแบบระบบไอทีในองค์กรให้เป็นระบบเชิงบริการ (Service-Oriented) ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ทั้งนี้ระบบไอทีขององค์กรต่างๆ ในปัจจุบันมักจะมีสถาปัตยกรรมแบบ Silo-Oriented Architecture ซึ่งการพัฒนาระบบไอทีในแต่ละระบบต่างเป็นอิสระต่อกัน อาจมีระบบที่ใช้เทคโนโลยีที่แตกต่างกันเช่น Java, .NET, Oracle หรือ SAP เป็นต้น จึงทำให้ยากต่อการเชื่อมต่อ บำรุงรักษายาก มีค่าใช้จ่ายสูง ปรับเปลี่ยนระบบได้ยาก และการพัฒนาระบบใหม่ๆ เป็นไปด้วยความล่าช้า ดังแสดงในรูปข้างล่าง
 Silo-Oriented Architecture

แนวคิดของระบบ SOA คือการจัดระบบ Silo-Oriented Architecture ใหม่ โดยการสร้างระบบไอทีให้เป็น 4 ชั้น (Layer) ดังแสดงในรูป
  • Resource Layer ซึ่งจะเป็นชั้นของระบบโครงสร้างไอทีต่างๆ ในปัจจุบัน เช่น ระบบฐานข้อมูล Oracle   ระบบโซลูชัน SAP หรือ PeopleSoft เป็นต้น 
  • Service Layer ซึ่งเป็นชั้นของส่วนประกอบเซอร์วิสต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ โดยส่วนประกอบเซอร์วิสเหล่านี้จะพัฒนามาจากโมดูล (Module) ต่างๆ ที่รันบน Resource Layer เช่น โมดูลของฐานข้อมูล Oracle โมดูลของระบบโซลูชัน SAP หรือ PeopleSoft และโมดูลของโปรแกรมประยุกต์ที่อาจพัฒนาด้วย Java หรือ .NET เป็นต้น 
  • Process Layer ซึ่งเป็นชั้นของกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ที่พัฒนาขึ้นมาจากการส่วนประกอบเซอร์วิสต่างๆ 
  • Access Layer ซึ่งเป็นชั้นของการเรียกใช้กระบวนการทางธุรกิจที่พัฒนาขึ้น โดยอาจผ่านทางเว็บไซต์ (Web Site) หรือโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Phone)

 SOA Layers
  SOA Conceptual Diagram

ดังนั้นจะเห็นได้ว่า SOA เป็นการเปลี่ยนระบบ Silo-Oriented Architecture มาสู่ระบบ Service-Oriented ซึ่งออกแบบเป็นชั้นๆ ทำให้สามารถพัฒนา ปรับปรุง หรือเพิ่มเติมโปรแกรมใหม่ได้ง่าย

คุณลักษณะที่สำคัญของระบบ SOA
  • การติดต่อสื่อสารระหว่างเซอร์วิส จะใช้เอกสารที่เป็น XML ที่นิยามผ่าน XML Schema (.xsd) ทำให้ไม่จำเป็นต้องทราบรายละเอียดของแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีของเซอร์วิสที่ใช้อยู่
  • เซอร์วิสจะมีตัวเชื่อมต่อ (Interface) ที่อธิบายเซอร์วิส เช่น Service Name, Input Parameter, Output Parameter และข้อมูลอื่นๆ ในรูปแบบของไฟล์ XML ทำให้ไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มและเทคโนโลยีที่เซอร์วิสนั้นใช้อยู่ โดยมากมักจะใช้มาตรฐาน WSDL (Web Service Description Language) ในการอธิบายเซอร์วิส
  • โปรแกรมประยุกต์ (Application) หรือกระบวนการทางธุรกิจต่างๆ สามารถพัฒนาขึ้นมาจากการใช้เซอร์วิสเดิมที่มีอยู่ ซึ่งมาตรฐานที่นิยมใช้คือ WS-BPEL (Web Service Business Process Execution Language)
  • SOA จะมี Registry ในการเก็บเซอร์วิสต่างๆ ที่มีอยู่ ซึ่ง Registry จะทำหน้าที่เหมือนไดเร็กทอรี่ของเซอร์วิส โดยโปรแกรมประยุกต์หรือกระบวนการทางธุรกิจต่างๆ จะค้นหาและเรียกใช้เซอร์วิสจาก Registry นี้ มาตรฐานที่ใช้ในการเก็บ Registry ที่นิยมใช้คือ UDDI (Universal Description Definition and Integration)
  • เซอร์วิสแต่ละตัวจะมีส่วนการควบคุมคุณภาพที่เป็น QoS (Quality of Service) อาทิเช่น การควบคุมความปลอดภัยด้าน Authentication, Authorization, Reliable Message และ Policy

เหตุผลของการพัฒนา SOA
การพัฒนาสถาปัตยกรรม SOA จะมีประโยชน์ต่อองค์กรในหลายๆ ด้าน อาทิเช่น การทำให้ข้อมูลต่างๆภายในองค์กรเชื่อมโยงกัน การลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา การทำให้การพัฒนาโปรแกรมใหม่เป็นไปด้วยความรวดเร็วขึ้น และทำให้ระบบไอทีในองค์กรไม่ผูกติดอยู่กับระบบใดระบบหนึ่ง
โครงสร้างของระบบไอทีขององค์กรขนาดใหญ่ (Information Technology Enterprise) จะประกอบไปด้วยระบบที่หลากหลายทั้งในด้านระบบปฏิบัติการ (Operating System) โปรแกรมประยุกต์ และระบบซอฟต์แวร์ ซึ่งโปรแกรมประยุกต์บางโปรแกรม อาจใช้ในการทำงานกับกระบวนการทางธุรกิจบางอย่าง ที่อาจทำงานภายใต้ระบบโครงสร้างไอทีเดิม เช่นพัฒนาโดยใช้เครื่องเมนเฟรม ดังนั้นเมื่อมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจ จะทำให้การเปลี่ยนแปลงโดยใช้โครงสร้างไอทีเดิมทำได้ยาก จนอาจมีความต้องการที่จะยกเลิกระบบเดิมและพึ่งพาเทคโนโลยีใหม่ ระบบ SOA จะช่วยคุ้มครองการลงทุนขององค์กร เพื่อให้สามารถนำระบบโครงสร้างไอทีเดิมมาใช้ต่อไปได้ โดยการพัฒนาระบบโปรแกรมเดิมให้เป็น SOA Service และสามารถพัฒนากระบวนการทางธุรกิจจากเซอร์วิสต่างๆ ที่มีอยู่ จึงทำให้องค์กรสามารถเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้โปรแกรมประยุกต์เดิม และโครงสร้างไอทีเดิมที่มีอยู่
เหตุผลหลักขององค์กรในการพัฒนาระบบ SOA จึงมักจะเริ่มจากความต้องการในการเชื่อมโยงระบบโครงสร้างไอทีต่างๆ ในปัจจุบันเข้าด้วยกัน หรือการทำ Enterprise Application Integration (EAI) แต่ระบบ SOA จะแตกต่างกับระบบ EAI เดิมในแง่ที่ของความสามารถในการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจใหม่จากเซอร์วิสเดิมที่มีอยู่ และมีการใช้ถึงมาตรฐานต่างๆ จากนั้นก็จะเป็นการนำ SOA มาใช้เพื่อพัฒนากระบวนการทางธุรกิจใหม่ๆ

ประโยชน์ของการพัฒนา SOA
การพัฒนาระบบโครงสร้างไอทีในองค์กรให้เป็นระบบ
SOA จะเกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ดังนี้ 
  • สามารถเชื่อมโยงธุรกิจต่างๆ
    การพัฒนา
    SOA มีการเชื่อมโยงระบบไอทีต่างๆ ภายในองค์กรและภายนอกองค์กรที่อาจใช้เทคโนโลยีที่ต่างกัน ทำให้เราสามารถเชื่อมโยงธุรกิจต่างๆ ที่อาจอยู่ต่างระบบกัน และสามารถให้บริการกับลูกค้า คู่ค้า และบุคลากรในองค์กรได้
  • ระบบไอทีสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย
    การพัฒนา
    SOA สามารถที่จะทำให้นำระบบไอทีเดิมมาใช้ใหม่ได้ ดังนั้นการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจจึงเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว และทำให้สามารถแข่งขันในตลาดธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
  • การลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา และให้ผลตอบแทนการลงทุนที่คุ้มค่า
    การพัฒนา
    SOA ทำให้องค์กรสามารถที่จะใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย จึงทำให้เราสามารถที่จะเลือกใช้เทคโนโลยีต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องผูกติดกับเทคโนโลยีใดเทคโนโลยีหนึ่ง ทำให้ค่าใช้จ่ายด้านไอทีในระยะยาวลดลง
  • การทำงานของฝ่ายธุรกิจและฝ่ายไอทีสอดคล้องกันมากขึ้น
    การพัฒนา
    Business Process ของฝ่ายไอทีจะมีขั้นตอนที่ชัดเจนสามารถแสดงในเชิงกราฟฟิกได้และเข้าใจง่ายขึ้น และหน่วยงานทางธุรกิจที่ต้องเข้าใจด้านกระบวนการทางธุรกิจสามารถที่จะเข้ามาร่วมทำการพัฒนาร่วมกับฝ่ายไอทีได้ดีขึ้น

โซลูชันสำหรับการพัฒนา SOA
แม้ว่า SOA จะเป็นแนวคิดในการพัฒนาสถาปัตยกรรมไอที แต่การจะพัฒนา SOA ได้ก็จำเป็นจะต้องมีผลิตภัณฑ์ (Product) ต่างๆ ดังนี้
1. Enterprise Service Bus เป็นโครงข่ายสำคัญในการขับเคลื่อน SOA ทั้งหมด เป็นการเชื่อมต่อระหว่างแอพพลิเคชัน
                2. Design-Time Governance เป็น database กลางช่วยรวบรวมว่าองค์กรมีบริการอะไรบ้าง และช่วยนำบริการออกไปยังหน่วยงานและควบคุมบริการให้เหมาะสมกับองค์กรด้วย
3. Run-Time management เป็นตัวจัดการ ทำอย่างไรให้บริการทำงานสอดคล้องกับ SOA ที่ตั้งไว้
                4. Security Gateway ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง Firewall ที่เป็นเน็ตเวิร์ก แต่เป็น Application Firewall ที่เข้าใจคำสั่ง XML นอกจากนี้ต้องมี Application Delivery Control ช่วยเร่งความเร็วในการทำงานของ SOA ด้วย

องค์กรที่นำระบบ SOA มาประยุกต์ใช้
แม้ว่า SOA จะมีประโยชน์และผลตอบแทนการลงทุนในระยะยาว (ROI: Return of Investment) จะคุ้มค่า แต่การลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างสูง เพราะต้องการซอฟต์แวร์ ESB และฮาร์ดแวร์ขนาดใหญ่ที่มีหลาย CPU ประกอบกับค่าพัฒนาระบบค่อนข้างสูงเนื่องจากต้องการทีมงานที่เข้าใจกระบวนการธุรกิจด้านนั้น ในปัจจุบันองค์กรในประเทศไทยหลายๆ องค์กรเริ่มมีโครงการ SOA เข้ามาทั้งในภาคธุรกิจการเงิน โทรคมนาคม และภาครัฐ ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงการเหล่านี้มีมูลค่าหลายสิบล้านบาท และผู้พัฒนาไม่ใช่แค่นักพัฒนาโปรแกรม (Developer) แต่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจนั้นๆ ด้วย เพราะการนิยามเซอร์วิสและการพัฒนากระบวนการทางธุรกิจต้องมีความเข้าใจธุรกิจนั้นเป็นอย่างดี
ในต่างประเทศมีการนำ SOA มาประยุกต์ใช้ในองค์กรต่างๆ จำนวนมากทั้งในภาคการเงิน โทรคมนาคม ค้าปลีก ภาครัฐ และระบบสาธารณสุข ตัวอย่างเช่น Australia Department of Defense, Us Army, Center Point of Energy, Blue Cross, General Motors, ABN-AMRO และSmart เป็นต้น
ตัวอย่างของระบบสาธารณสุขใน UK (National Healthcare System) เป็นตัวอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะเป็นการพัฒนาระบบ SOA ที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง โดยการเชื่อมโยงระบบไอทีของโรงพยาบาลกว่า 250 แห่ง คลีนิกและสถานพยาบาลกว่า 600,000 แห่งทั่วประเทศ เพื่อเชื่อมโยงระบบไอทีกว่า 10,000 ระบบ โครงการนี้ให้บริการประชาชนกว่า 50 ล้านคน และมีจำนวนธุรกรรม (Transaction) ต่อปีกว่าหกพันล้าน โดยโครงการนี้มีมูลค่าการลงทุนสูงถึง 2.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ข้อดีของ SOA
  • สามารถผนวกรวมระบบธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีของผู้ผลิตหลายราย
  • ลดค่าใช้จ่ายโดยรวมในการดูแลรักษาระบบ
  • เพิ่มโอกาสให้องค์กรสามารถพัฒนาซอฟต์แวร์ได้อย่างหลากหลายตามความต้องการใช้งานทางธุรกิจที่แท้จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงลึกทางด้านธุรกิจ ซึ่งช่วยเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน
  • สามารถใช้งานร่วมกับแอพพลิเคชั่นของผู้ผลิตรายอื่น

ข้อเสียของ SOA
  • SOA มีปัญหาด้านการออกแบบให้เกิดความปลอดภัยและปัญหาเรื่องเสถียรภาพของระบบเครือข่าย ซึ่งถือเป็น "Infrastructure" หลักของ SOA เพราะถ้าหากระบบเครือข่ายเกิดปัญหา ย่อมส่งผลกระทบกับ SOA ทั้งระบบได้ การติดต่อรับส่งข้อมูลแบบ Plain Text ก็เป็นปัญหาใหญ่เหมือนกับเทคโนโลยี Web Service เช่นกัน
  • มีช่องว่างด้านความปลอดภัย ถูกโจมตีได้ง่าย

ช่องโหว่ SOA ที่ไม่ควรมองข้าม
                ทว่าแนวคิด SOA ก็ต้องได้รับความปลอดภัยสูงเช่นกัน  ในมุมมองของผู้ผลิตอุปกรณ์เครือข่าย อย่างบริษัท ทรีคอม (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายสุรชัย ไชยรังกิจรัตน์ กล่าวว่า แนวคิด SOA คือการออกแบบอยู่บนซอฟต์แวร์ที่แยกกันเป็นส่วนๆ ถ้ามีซอฟต์แวร์ 10 ตัว ระบบก็ต้องรายงาน 10 ตัว ไม่เหมือนซอฟต์แวร์แบบดั้งเดิมที่รายงานรวมกันทั้งหมดเพียงครั้งเดียว
                นอกจากนี้ เนื่องจาก SOA ใช้ web service เป็นเครื่องมือ ที่วิ่งอยู่บน Protocol XML ดังนั้นจึงเป็นมิตรกับมนุษย์ นั่นหมายถึงคนสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลได้เพียงรู้ชื่อผู้ใช้งาน ไม่เหมือนภาษาคอมพิวเตอร์แบบสมัยก่อน  ดังนั้นแต่ละช่องของซอฟต์แวร์ที่คุยกันจึงมีช่องว่างด้านความปลอดภัย ถูกโจมตีง่าย
                เน็ตเวิร์กจึงต้องมีความปลอดภัยสูง มีความเสถียรในการใช้งาน และสามารถมอนิเตอร์ได้ ต้องแน่ใจว่าไม่มีใครมาเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการส่งระหว่างทางไปถึงผู้รับ
                เมื่อ SOA คือคำตอบของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแล้ว เพราะการใช้งานด้านไอที ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อบันทึกข้อมูลของบุคลากรอีกต่อไป แต่ยังจำเป็นต้องวิเคราะห์และบริการจัดการข้อมูล และสร้างบริการในเชิงลึกอีกมาก สิ่งที่องค์กรต้องคำนึงถึงในการเลือกเวนเดอร์เพื่อเข้ามาสนับสนุนการวางระบบให้ สามารถเลือกได้ 2 แบบ คือ แบบแรก ใช้เวนเดอร์เจ้าเดียวเพื่อหาโซลูชันที่ต้องการให้ ซึ่งวิธีการนี้จะไม่มีปัญหาในการนำโซลูชันหลายๆอย่างมาอินทริเกรทกัน เพราะเวนเดอร์จะรู้ระบบและสามารถกระทำได้จากโซลูชันที่ได้เลือกมา วิธีที่สอง คือ  ใช้เวนเดอร์หลายเจ้าโดยเลือกจากเวนเดอร์ที่มีจุดแข็งในแต่ละโซลูชัน แต่อาจมีปัญหาเรื่องการอินทริเกรทโซลูชัน เพราะเป็นโซลูชันจากคนละเวนเดอร์มาอยู่ด้วยกัน ดังนั้น ควรเลือกโซลูชันที่เป็นโอเพ่นซอร์ส จะไม่มีปัญหาในการอินทริเกรท เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์เปิด

บทสรุป
SOA เป็นแนวคิดในการพัฒนาสถาปัตยกรรมไอทีขององค์กรให้เป็นแบบเชิงบริการ เพื่อที่จะทำให้ระบบไอทีในองค์กรสามารถเชื่อมโยงกันได้ การพัฒนา SOA สามารถทำได้หลายวิธี และเว็บเซอร์วิสเป็นวิธีหนึ่งที่เหมาะสม การพัฒนาระบบ SOA จำเป็นที่จะต้องมีผลิตภัณฑ์และเครื่องมือในการพัฒนา ที่สำคัญที่สุดคือต้องมี ESB เพื่อเชื่อมโยงระบบไอทีต่างๆ โดยผ่าน Adapter ซึ่งจะเห็นได้ว่าการเชื่อมโยงที่ดีอาจไม่จำเป็นต้องแปลงระบบเดิมมาสู่เว็บเซอร์วิสทั้งหมด ทั้งนี้เพราะ Adapter สามารถติดต่อกับโมดูลเดิมที่อาจใช้โพรโทคอลอื่นได้ การพัฒนา SOA มีต้นทุนที่ค่อนข้างสูง และจำเป็นต้องมีทีมงานที่เข้าใจธุรกิจเฉพาะนั้นๆ แต่ผลตอบแทนระยะยาวจะคุ้มค่ามาก
นายวรฐ ทรงฤกษ์ 5202112594

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น